วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2564

SAP2000 - ผลของ Insertion Point ต่อแรงภายในสำหรับ Frame Element

      พิจารณา Beam 3 ตัว ที่สร้างจาก Frame Element  โดยกำหนด insertion point ที่แตกต่างกัน ดังนี้ 


กำหนด load แนวดิ่ง เป็น uniform load ขนาด 1 kN/m และ กำหนดแรงแนวแกนเป็น Point load ขนาด 1 kN แสดงดังภาพต่อไปนี้




ลองรันโปรแกรมแล้วลองเปรียบเทียบผลของแรงภายใน  ขั้นแรกดู Bending moment ที่เกิดจากแรงแนวดิ่ง จะเห็นว่ามีค่าไม่แตกต่างกัน ตามภาพต่อไปนี้




คราวนี้ลองดู Bending moment ที่เกิดจากแรงแนวดิ่งร่วมกับแนวแกน จะพบว่ามีความแตกต่างกัน ตามภาพต่อไปนี้

ค่าโมเมนต์ดัดที่เปลี่ยนไปนี้เป็นส่วนที่เกิดจากแรงแนวแกน ซึ่งในกรณีปกติที่เรากำหนดจุด insertion point ให้อยู่ที ่centroid เราจะไม่เห็นความแตกต่างตรงนี้  แต่เมื่อใดที่เรากำหนดจุด insertion point เป็นจุดอื่นๆ โปรแกรมก็จะคำนวณผลของการเยื้องศูนย์ที่เกิดขึ้นด้วย  โดยการเยื้องศูนย์ที่เกิดขึ้นแสดงตามภาพต่อไปนี้



จากภาพด้านบนระยะเยื้องศูนย์มีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของความลึกคาน กรณีนี้คานลึก 60 cm ดังนั้นระยะเยื้องศูนย์มีค่า 30 cm  สามารถคำนวณโมเมนต์ที่เกิดจากการเยื้องศูนย์ได้เท่ากับ 0.30x1 = 0.3 kN-m
นำค่านี้ไปเทียบกับค่าในโปรแกรม ซึ่งค่า bending moment ที่เกิดจากแรงแนวแกนอย่างเดียว แสดงตามภาพต่อไปนี้ 


นั่นเป็นสาเหตุที่เกิดความแตกต่างของค่า bending moment เมื่อดูผลรวมระหว่างแรงแนวดิ่งกับแรงแนวแกน





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น