บทนำ
บทความนี้นำเสนอกลไกการทำงานของหน้าตัดคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งเป็นการนำวัสดุสองประเภทมาใช้งานร่วมกันเพื่อให้คุณสมบัติโดยรวมดีขึ้น ในกรณีนี้เรามีคอนกรีตและเหล็ก คอนกรีตรับแรงอัดได้ดีมีราคาถูก แต่มีข้อด้อยกคือรับแรงดึงได้ต่ำมาก ส่วนเหล็กรับแรงได้ดีทังแรงอัดและแรงดึงมีกำลังสูงกว่าคอนกรีตมาก แต่ราคาก็แพงกว่าคอนกรีตมาก
ถ้ามองในมุมของกำลังของหน้าตัดแล้ว แนวคิดในการใช้งานคอนกรีตเสริมเหล็กคือ ใช้เหล็กเข้ามาช่วยรับแรงดึงในหน้าตัด จะช่วยให้หน้าตัดรับแรงได้มากขึ้น
หรือถ้ามองในมุมของราคา เรานำคอนกรีตเข้ามาแทนที่ส่วนที่รับแรงอัดในหน้าตัด คิดง่า่ยๆว่าเรามีหน้าตัดเหล็กล้วน เอาครึ่งหนึ่งออกไปแล้วแทนที่ด้วยคอนกรีตซึ่งมีราคาถูกกว่าเหล็กอย่างน้อย 10 เท่า ก็จะทำให้หน้าตัดของเรามีราคาถูกลงมาก
พฤติกรรมของหน้าตัดคอมโพสิท
เราใช้หลักการ strain compatibility ในการคำนวณหน้าตัด composite กล่าวคือ คำนวณ strain ก่อน จากนั้นใช้ความสัมพันธ์ stress-strain curve ของวัสดุ ในการคำนวณแรงในเนื้อวัสดุ
ในกรณีหน้าตัดรับแรงดัด โดยทั่วไปสำหรับคานที่มีลักษณะเป็น "thin beam" เราใช้หลักการของ "Bernoulli-Euler beam theory" ซึ่งมีสมมติฐานหลัก 2 ประการคือ
1. plane sections remain plane - หมายถึง การเปลี่ยนแปลง strain ในหน้าตัดจะกระจายเป็นเส้นตรง
2. small displacement - หลังรับแรงคานมีการเสียรูปน้อย
* thin beam ในทางทฤษฎีหมายถึงคานที่มีอัตราส่วนความยาวต่อความลึกมากกว่า 20 เท่าขึ้นไป ที่อัตราส่วนนี้ผลของ shear deformation ในหน้าตัดจะมีค่าน้อยจนตัดทิ้งได้ ทำให้สามารถใช้ "Bernoulli-Euler beam theory" ได้
** นอกจาก Bernoulli-Euler beam theory ซึ่งใช้กับ thin beam แล้ว เรายังมี Timoshenko-Ehrenfest beam theory ซึ่งใช้สำหรับ thick beam อีกด้วย
พฤติกรรมของวัสดุ
พิจารณาจาก stress-strain curve จะเห็นว่าในช่วงใช้งาน เหล็กมีพฤติกรรมแบบ linear
stress - strain curve of steel |
พิจารณาจากกราฟ stress-strain curve ของคอนกรีต
ที่จุดที่ 1 ที่ stress = 0.4 fcm เป็นจุดสิ้นสุดของพฤติกรรม Linear ของคอนกรีต ช่วงพฤติกรรมนี้ใช้คำนวณออกแบบระดับ SLS (Service Limit State) การกระจายของหน่วยแรงเป็นแบบ Linear ตามภาพต่อไปนี้
ช่วงหลังจุดที่ 1 ไป คอนกรีตมีพฤติกรรมแบบ Non-Linear ซึ่งการคำนวณกำลังหน้าตัดช่วงนี้ทำได้ยุ่งยาก เป็นโชคดีที่การออกแบบปกติเราไม่สนใจช่วงที่ยุ่งยากนี้
ที่จุดที่ 2 เป็นจุดที่เราคำนวณกำลังของหน้าตัดที่ระดับ ULS (Ultimate Limit State) ซึ่งเราก็ใช้การ simplify การกระจายหน่วยแรงอัด จากที่เป็นการกระจายแบบ Non-Linear เป็นการกระจายแบบเส้นตรงคงที่ ทำให้การคำนวณง่ายขึ้น ตามภาพต่อไปนี้
สรุป
ในตอนนี้เราได้ทราบหลักการเบื้องต้นของคอนกรีตเสริมเหล็กแล้ว ในตอนต่อไปเราจะไปลองคำนวณกำลังของหน้าตัด..............
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น