วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564
AutoCAD กับ Multi-core Processor
วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564
Wind Load
Wind Load
มาตรฐานแรงลม
ความเร็วลมออกแบบ ฺBasic Wind Speed
พื้นฐานการคำนวณแรงลมโดยละเอียด
วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2564
Batter Pile
Batter Pile
Batter Pile คือ เสาเข็มที่ตอกในมุมเอียงจากแนวดิ่ง กรณีที่ใช้ในงานฐานรากที่รับแรงแนวดิ่งเป็นหลัก ก็จะกำหนดมุมเอียงเพียงเล็กน้อยประมาณ 1:10 ถึง 1:8 (ราบ:ดิ่ง) เพื่อช่วยให้ฐานรากรับแรงด้านข้างได้ พบเห็นได้ทั่วไปในงานสะพานบริเวณตอม่อกลางน้ำ และต่อม่อตับริม ในกรณีเป็นการใช้งานในโครงสร้างกำแพงกันดิน ซึ่งแรงแนวดิ่งน้อย แรงส่วนมากเป็นแรงด้านข้างก็อาจกำหนดมุมเอียงได้มากขึ้น และหากเสาเข็มนั้นรับแรงถอนจะเรียกว่า Anchor Pile
ประโยชน์ของ Batter Pile
จุดประสงค์หลักคือ ช่วยรับแรงด้านข้าง ประโยชน์ที่สองรองลงมาที่มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้งาน คือ การจัดตำแหน่ง Batter Pile สลับกับเสาเข็มตรงนั้นช่วยลดขนาดฐานรากได้ มีประโยชน์มากสำหรับต่อม่อในลำน้ำซึ่งต้องการขนาดฐานรากที่แคบที่สุดที่เป็นไปได้ ยกตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้
วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2564
kilogram(kg) , kilogram-force (kgf) และ Newton(N)
นิยาม
kilogram (kg) คือ หน่วยมาตรฐานของมวล เป็นปริมาณ scalar ในอดีตเรานิยามมวล 1 kg เท่ากับ น้ำหนักมวลของน้ำปริมาตร 1 ลิตร ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ในปัจจุบันนิยามด้วยค่าคงที่ทางฟิสิกส์ โดยกำหนดค่า Planck constant (h) ให้เป็นค่าที่แน่นอนค่าหนึ่ง ซึ่งหากไม่ใช่นักฟิสิกส์สมัยใหม่ คงยากจะเข้าใจ แต่อย่างไรก็ตาม 1 kg ก็ยังเป็น 1 kg เหมือนเดิม เพียงเปลี่ยนคำนิยามให้เข้ากับยุคสมัยเท่านั้น
kilogram-force (kgf) คือ หน่วยของแรงหรือน้ำหนัก เป็นปริมาณ vector ค่าแรง 1 kgf หมายถึง มวล 1 กิโลกรัมคูณด้วย g ( g = 9.80665 m/s2) หรือ 1 kgf = 1 kg*g
Newton (N) คือ หน่วยของแรงหรือน้ำหนัก เป็นปริมาณ vector ค่าแรง 1 N หมายถึง มวล 1 กิโลกรัม คูณด้วยความเร่ง 1 m/s2 หรือ 1N = 1kg*m/s2
ความเป็นมา kilogram-force(kgf) และ Newton(N)
ทั้งคู่ต่างเป็นหน่วยของแรง โดย kilogram-force (kgf) ถูกนิยามขึ้นตอนที่เริ่มมีการกำหนดมาตรฐานค่า g ในปี 1901 หลังจากนั้น 12 ปี ในปี 1913 หน่วย Newton (N) ถูกนำเสนอเพื่อเป็นเกียรติ์แก่ Sir Isaac Newton บิดาแห่งฟิสิกส์ยุคเก่า หน่วย Newton ถูกยอมรับใช้งานทั่วไปในปี 1948 จนในปี 1960 ได้มีการกำหนดมาตรฐาน International System of Unit (SI ) ซึ่งใช้หน่วย Newton (N) เป็นหน่วยของแรง หากสนใจรายละเอียดเกี่ยวกับ SI Unit ไปดูตาม link ข้างล่าง จะมีคำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับคำนิยามหน่วยต่างๆอย่างครบถ้วน
SI Unit Link>>>https://www.bipm.org/en/publications/si-brochure/
ความแตกต่างของ kg กับ kgf (ความแตกต่างของมวลกับแรง)
แปลงค่า kilogram-force (kgf) กับ Newton (N)
1 kg = 9.80665 N ?
วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564
Mechanics of Reinforced Concrete Beam Section - กลไกของหน้าตัดคานคอนกรีตเสริมเหล็ก (EP-3) - คำนวณกำลังหน้าตัด ULS
บทนำ
วิธีการคำนวณแบบง่าย
วิธีการคำนวณแบบ strain compatibility
สรุป
วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564
Mechanics of Reinforced Concrete Beam Section - กลไกของหน้าตัดคานคอนกรีตเสริมเหล็ก (EP-2) - คำนวณกำลังหน้าตัด SLS
บทนำ
บทความนี้เรามาลองคำนวณกำลังของหน้าตัดคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยจะลองคำนวณเปรียบเทียบกันใน 3 สถานะ คือ
1. หน้าตัดคอนกรีตล้วน
2. หน้าตัดคอนกรีตเสริมเหล็ก แบบไม่แตกร้าว
3. หน้าตัดคอนกรีตเสริมเหล็ก แบบแตกร้าว
หน้าตัดคอนกรีตล้วน
หน้าตัดคอนกรีตเสริมเหล็ก ( ไม่แตกร้าว )
จะเห็นว่าเหล็กเสริมช่วยให้หน้าตัดก่อน crack มีกำลังเพิ่มขึ้น 17.5% จากหน้าตัดคอนกรีตล้วนที่วิบัติด้วยแรงดึง แต่ยังมีค่าเพียง 30% ของกำลังที่ควรจะทำได้ของหน้าตัด
หน้าตัดคอนกรีตเสริมเหล็ก ( แตกร้าว )
สรุป
วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564
Mechanics of Reinforced Concrete ฺBeam Section - กลไกของหน้าตัดคานคอนกรีตเสริมเหล็ก (EP-1)
บทนำ
บทความนี้นำเสนอกลไกการทำงานของหน้าตัดคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งเป็นการนำวัสดุสองประเภทมาใช้งานร่วมกันเพื่อให้คุณสมบัติโดยรวมดีขึ้น ในกรณีนี้เรามีคอนกรีตและเหล็ก คอนกรีตรับแรงอัดได้ดีมีราคาถูก แต่มีข้อด้อยกคือรับแรงดึงได้ต่ำมาก ส่วนเหล็กรับแรงได้ดีทังแรงอัดและแรงดึงมีกำลังสูงกว่าคอนกรีตมาก แต่ราคาก็แพงกว่าคอนกรีตมาก
ถ้ามองในมุมของกำลังของหน้าตัดแล้ว แนวคิดในการใช้งานคอนกรีตเสริมเหล็กคือ ใช้เหล็กเข้ามาช่วยรับแรงดึงในหน้าตัด จะช่วยให้หน้าตัดรับแรงได้มากขึ้น
หรือถ้ามองในมุมของราคา เรานำคอนกรีตเข้ามาแทนที่ส่วนที่รับแรงอัดในหน้าตัด คิดง่า่ยๆว่าเรามีหน้าตัดเหล็กล้วน เอาครึ่งหนึ่งออกไปแล้วแทนที่ด้วยคอนกรีตซึ่งมีราคาถูกกว่าเหล็กอย่างน้อย 10 เท่า ก็จะทำให้หน้าตัดของเรามีราคาถูกลงมาก
พฤติกรรมของหน้าตัดคอมโพสิท
พฤติกรรมของวัสดุ
stress - strain curve of steel |
สรุป
วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2564
การคำนวณ - Deflection curve from BMD
โดยสุดท้ายจะมีการคำนวณเปรียบเทียบระหว่างค่าที่ได้จากวิธีการที่นำเสนอ กับค่าที่ได้จากสูตรสำเร็จตามภาพด้านล่างนี้