AutoCAD : การประยุกต์ใช้งาน Field
Field คือ อะไร?
Filed คือ การแสดง text ด้วยคุณสมบัติบางประการของวัตถุ เช่น วัตถุเส้น จะมีคุณสมบัติพวก พิกัดจุดตั้งต้น ความยาว layer ฯลฯ สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาแสดงใน text ได้
การใช้งาน Field กับ Title Block
โดยทั่วไปในการเขียนแบบ จะตั้งชื่อ Layout ให้ตรงกับเบอร์ของแบบ แล้วใช้ Field เพื่อแสดงชื่อ Layout ใน Title Block ในช่องเบอร์แบบ ไปดูวิธีการทำกันครับ
- เปิดไฟล์ Title Block ขึ้นมา
- สร้าง Text ในช่อง Drawing No.
- คลิ๊กขวาใน Text > insert field
- จะมีตัวเลือกมากมาย ให้ไปที่ >other > system variable > ctab
- จะได้ผลลัพธ์ตามภาพในขั้นตอนที่ 1 คือ Field จะแสดงค่า "MODEL" ซึ่งเป็นชื่อ space ที่ text ตัวนั้นดำรงอยู่ คือ ถ้า Text อยู่ในหน้า Model ก็จะแสดง "MODEL" แต่หาก Text อยู่ในหน้า Layout ก็จะแสดงเป็นชื่อ Layout นั้น เช่น "Layout1" เป็นต้น
- ตอนนี้เราจะได้ไฟล์ Title Block ที่มี Field เพื่อแสดงชื่อ Layout โดยอัตโนมัติ โดยค่าที่แสดงใน Field จะ Reference ค่ากับ Host Drawing
- แนะนำให้ตั้งค่า FIELDEVAL = 31
นอกจากนี้หากแบบ link กับ Sheet Set แล้ว ยังจะสามารถใช้ Field เพื่อแสดงชื่อไฟล์ และลำดับไฟล์ได้อีกด้วย
การใช้งาน Field สร้างตัวชี้บอกพิกัด
ตัวอย่างนี้เป็นการใช้งาน field เพื่อเป็นตัวชี้พิกัด หลักการคือ เขียนเส้นตรงหนึ่งเส้น ให้ปลาย start ของเส้นเป็นปลายชี้จุดพิกัด ส่วนปลาย end ของเส้นให้โยงไปที่ text ที่แสดงค่าพิกัดของตำแหน่ง start ไปดูวิธีการทำกันครับ
- สร้างเส้นตรง และ Text ที่ปลายเส้น
- เข้าไป Edit Text พิมพ์ "N = " > คลิ๊กขวา ไปที่ insert field > objects > เลือกเส้น > เลือกproperty start point > เลือกการแสดงผล > กด ok
- จะได้ Field ที่แสดงพิกัด North ตามรูป
- จากนั้น พิมพ์ " , E=" แล้วทำซ้ำขั้นตอนที่ 2 แต่ให้เลือกแสดง coordinate X เราจะได้ ตัวชี้พิกัด NE ตามรูปด้านล่าง
- ในการใช้งานเราสามาร copy เส้นตรงและtext ไปพร้อมๆกัน โดยอันที่ copy ไปใหม่จะ link กันโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องเข้าไปแก้ field ใหม่ ( ใช้คำสั่ง RE เพื่อ update field )
สรุป
บทความนี้แสดงตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Field เพียงบางส่วนเท่านั้น จะเห็นว่ายังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกมากมายใน ซึ่งยังคงต้องเรียนรู้กันต่อไป ใครมีเทคนิคการใช้งาน Field อย่างไรก็นำมาแชร์กันได้ครับ
ถ้าจะทำให้ field บอกค่าระดับสูงต่ำได้ใหมครับ
ตอบลบทำได้ครับ ใช้หลักการเดียวกับการสร้างตัวชี้บอกพิกัด แต่เลือกเฉพาะพิกัด Y แต่จะมีข้อจำกัดตรงที่มันจะอ้างอิงกับ global coordinate (world ucs) เสมอ เราจึงต้องเขียนแบบให้ตรงตาม elevation จริงที่จะแสดงผลค่าระดับ
ลบแนะนำให้ใช้ Dimension จะยืดหยุ่นกว่าในการใช้งาน เราจะสามารถวาดแบบในตำแหน่งใดก็ได้ในหน้าจอ จากนั้นวาดเส้นอ้างอิงระดับ 0.00(Datum) แล้วใช้ dimension วัดจาก datum ไปหาจุดที่ต้องการทราบค่าระดับ
สำหรับ dimension ให้สร้าง style แยกขึ้นมา 1 อัน เพื่อใช้สำหรับการนี้โดยเฉพาะ ตั้งค่าให้ตัวอักษรอยู่ในแนวราบและอยู่ในตำแหน่งเส้น extension line ในขั้นตอนพิมพ์แบบให้ปิดการแสดงผลของเส้น dimension และ extension ให้เหลือแสดงผลเฉพาะอักษร วิธีนี้ผมใช้อยู่ประจำ