วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

AutoCAD - แก้ปัญหา Tool Bar หาย



การแก้ปัญหาเมื่อ Tool Bar หาย

     เมื่อเข้าโปรแกรมแล้วพบว่า แถบเครื่องมือหายไปหมด ตามภาพด้านล่าง





วิธีที่  1  โหลดเครื่องมือผ่านคำสั่ง CUILAOD

ให้ลองทำการแก้ไขโดย พิมพ์คำสั่ง CUILOAD  แล้วเลือกโหลดไฟล์ ACAD.CUIX  ดังแสดงตามภาพด้านล่าง


     เมื่อกด Load เรียบร้อยแล้ว ก็จะได้ แถบเครื่องมือกลับมาทั้งหมด แต่อาจจะต้องจัด Workspace ใหม่กันนิดหน่อย เพราะทุกอย่างจะกลับไปที่ค่าตั้งต้น


วิธีที่  2  ใช้โปรแกรม Reset to Default

     ให้ไป run โปรแกรม Reset to default ของ autocad โดยตัวโปรแกมจะอยู่ใน Directory ตามนี้ 

"C:\ProgramData\Microsoft\Windows\Start Menu\Programs\AutoCAD 2018 - English"

หรืออาจใช้วิธี search โปรแกรมจากปุ่มวินโดว์ปกติ  



     

     


     






วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

AutoCAD - ตัวอย่างการใช้งาน Parametric (V2)

AutoCAD - ตัวอย่างการใช้งาน Parametric (V2)

บทความนี้เป้นตัวอย่างเดิมกับที่เคยนำเสนอไป (V1) แต่ได้ทำการปรับปรุงวิธีการให้ซับซ้อนน้อยลง  ลองไปดูวิธีที่ปรับปรุงใหม่กัน





วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560

AutoCAD - ตัวอย่างการใช้งาน Parametric (V1)

AutoCAD - ตัวอย่างการใช้งาน Parametric


     ตัวอย่างนี้จะเป็นการสร้างแปลนคานสะพาน ซึ่งประกอบไปคานสะพานวางเรียงกัน 4 ตัว ปละแสดงแนวขอบเขตพื้นและแนวศูนย์กลางสะพาน  โดยสร้างเป็น Block และใช้กลุ่มเครื่องมือ Parametric เพื่อช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนค่าตัวแปรต่างๆได้

     เมื่อเสร็จเรียบร้อย จะได้ Block สำหรับแปลนคานสะพาน 4 ตัว ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้ ทั้งความยาว ความกว้าง ระยะห่างคานสะพาน และมุม skew ที่ปลาย

1. สร้างเส้นแนวสะพานและ แนวศูนย์กลางคานสะพาน



2. สร้าง Block และสร้าง ค่าตัวแปร ดังต่อไปนี้ 
  • BW = ความกว้างสะพาน ( Bridge Width )
  • GW = ความกว้างคานสะพาน ( Girder Width )
  • GS = ระยะห่างคานสะพาน ( Girder Spacing )



3. สร้างแนวปิดคานสะพาน และกำหนด Constrain









วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

AutoCAD : การประยุกต์ใช้งาน Field

AutoCAD : การประยุกต์ใช้งาน Field

Field คือ อะไร?

     Filed คือ การแสดง text ด้วยคุณสมบัติบางประการของวัตถุ เช่น วัตถุเส้น จะมีคุณสมบัติพวก พิกัดจุดตั้งต้น ความยาว layer ฯลฯ  สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาแสดงใน text ได้


การใช้งาน Field กับ Title Block

     โดยทั่วไปในการเขียนแบบ จะตั้งชื่อ Layout ให้ตรงกับเบอร์ของแบบ  แล้วใช้ Field เพื่อแสดงชื่อ Layout ใน Title Block ในช่องเบอร์แบบ ไปดูวิธีการทำกันครับ

  • เปิดไฟล์ Title Block ขึ้นมา 
  • สร้าง Text ในช่อง Drawing No.
  • คลิ๊กขวาใน Text > insert field
  • จะมีตัวเลือกมากมาย ให้ไปที่ >other > system variable > ctab
  • จะได้ผลลัพธ์ตามภาพในขั้นตอนที่ 1  คือ Field จะแสดงค่า "MODEL" ซึ่งเป็นชื่อ space ที่ text ตัวนั้นดำรงอยู่ คือ ถ้า Text อยู่ในหน้า Model ก็จะแสดง "MODEL" แต่หาก Text อยู่ในหน้า Layout ก็จะแสดงเป็นชื่อ Layout นั้น เช่น "Layout1" เป็นต้น
  • ตอนนี้เราจะได้ไฟล์ Title Block ที่มี Field เพื่อแสดงชื่อ Layout โดยอัตโนมัติ โดยค่าที่แสดงใน Field จะ Reference ค่ากับ Host Drawing
  • แนะนำให้ตั้งค่า FIELDEVAL = 31


     นอกจากนี้หากแบบ link กับ Sheet Set แล้ว ยังจะสามารถใช้ Field เพื่อแสดงชื่อไฟล์ และลำดับไฟล์ได้อีกด้วย



การใช้งาน Field สร้างตัวชี้บอกพิกัด

ตัวอย่างนี้เป็นการใช้งาน field เพื่อเป็นตัวชี้พิกัด หลักการคือ เขียนเส้นตรงหนึ่งเส้น ให้ปลาย start ของเส้นเป็นปลายชี้จุดพิกัด ส่วนปลาย end ของเส้นให้โยงไปที่ text ที่แสดงค่าพิกัดของตำแหน่ง start ไปดูวิธีการทำกันครับ

  • สร้างเส้นตรง และ Text ที่ปลายเส้น
  • เข้าไป Edit Text พิมพ์ "N = " > คลิ๊กขวา ไปที่ insert field > objects > เลือกเส้น > เลือกproperty start point > เลือกการแสดงผล > กด ok
  • จะได้ Field ที่แสดงพิกัด North ตามรูป
  • จากนั้น พิมพ์ " , E=" แล้วทำซ้ำขั้นตอนที่ 2 แต่ให้เลือกแสดง coordinate X เราจะได้ ตัวชี้พิกัด NE ตามรูปด้านล่าง
  • ในการใช้งานเราสามาร copy เส้นตรงและtext ไปพร้อมๆกัน โดยอันที่ copy ไปใหม่จะ link กันโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องเข้าไปแก้ field ใหม่ ( ใช้คำสั่ง RE เพื่อ update field )

สรุป

บทความนี้แสดงตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Field เพียงบางส่วนเท่านั้น จะเห็นว่ายังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกมากมายใน ซึ่งยังคงต้องเรียนรู้กันต่อไป ใครมีเทคนิคการใช้งาน Field อย่างไรก็นำมาแชร์กันได้ครับ

AutoCAD - การใช้งาน SheetSet

AutoCAD - การใช้งาน SheetSet

SheetSet คือ ?

SheetSet เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับจัดการไฟล์ Drawing เช่น การจัดการชื่อแบบ เลขหน้า รวมถึงการPlot และการรวมไฟล์ เป็นต้น

ประโยชน์ของ SheetSet

  • ลดเวลาการจัดการแบบ
  • ลดความผิดพลาดในการรวบรวมแบบเพื่อส่งงาน

ข้อจำกัดของ SheetSet

  • การใช้ SheetSet กับโครงการที่มีจำนวนแบบมากเกินไปจะทำให้ทำงานได้ช้าเนื่องจากต้องรอการ Update ของ SheetSet Manager ที่จำทำการ Update ไฟล์ที่แก้ไขจากแต่ละ User แต่หากมีการวางแผนที่ดี โดยแบ่ง SheetSet เป็นส่วนย่อย ก็จะเลี่ยงปัญหานี้ได้
  • ในการทำงานร่วมกันผ่านระบบ LAN ประสิทธิภาพของอุปกรณ์เครือข่ายที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจเป็นอุปสรรคทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงานได้
  • เนื่องจาก SheetSet ยังเป็นอะไรที่ค่อนข้างใหม่ ความไม่เข้าใจของผู้ใช้งานเอง ก็อาจเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะขัดขวางไม่ให้กระบวนการทำงานเดินไปได้ แต่หากมีความอดทนและเรียนรู้การแก้ปัญหา ก็จะได้พบกับประโยชน์และคุณค่าของ SheetSet

เริ่มต้นใช้งาน SheetSet - การสร้าง Sheetset

  • เรียกหน้าต่าง Sheet set manager ผ่านคำสั่ง Sheetset บน command line


  • จะมี Dropdown menu ให้เลือกสร้าง Sheet set ใหม่ หรือ เปิด Sheet set ที่มีอยู่แล้ว


  • เลือก New Sheet Set จะปรากฎหน้าต่างนำทาง

  • ตัวอย่างนี้สะสร้าง Sheet Set จากไฟล์ Drawing ที่มีอยู่แล้ว  ให้กด Next> เพื่อไปยังหน้าต่างถัดไป
เลือก save ไฟล์ Sheet Set ไว้ให้เป็นที่ โดยอาจอยู่ Folder เดียวกันกับไฟล์ Drawing  จากนั้นกด Next> เพื่อไปหน้าต่างถัดไป


  •  สามารถตั้งค่าการนำเข้า โดยกดปุ่ม Import Option จะมี 2 check box หลัก อันแรกจะเลือกโดยไว้อยู่แล้ว คือ ให้โปรแกรมตั้งชื่อแบบตามชื่อไฟล์  ส่วนตัวเลือกที่สองจะเป็นการสร้าง subset ตามระดับของ Folder ที่บรรจุแบบ คือ ถ้ามี Folder ย่อย ก็จะสร้าง subset ให้เป็นลำดับ



  • ปุ่ม Brows สำหรับเลือก Folder ที่บรรจุไฟล์  

  • เมื่อเลือกไฟล์เรียบร้อยแล้วจะปรากฎรายการที่เลือก  กด Next>  เพื่อไปยังหน้าต่างถัดไป

  • โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างข้อมูลต่างๆ  กด Finish เป็นอันเสร็จขั้นตอนการสร้าง Sheet Set

การกำหนด Template สำหรับการ Plot และ สร้าง Sheet ใหม่

  • คลิกขวาที่ Sheet Set จะปรากฏหน้าต่างใหม่ เลือกที่ Properties
  • หน้าต่าง Properties ของ Sheet Set จะปรากฏตามภาพด้านล่าง ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
    • Name : เป็นชื่อของ Sheet Set สามารถแก้ไขได้
    • Page setup override file ให้เลือกไฟล์ Template ที่เราตั้งค่าหน้ากระดาษต่างๆ ไว้พร้อมแล้ว
    • Sheet storage location : คือตำแหน่งที่เก็บไฟล์ Drawing
    • Sheet creation template : คือไฟล์ Template สำหรับสร้าง Drawing ใหม่ โดยไฟล์ Drawing ที่สร้างใหม่ จะ save ในตำหแหน่งที่เราเลือกใน Sheet storage location
    • Edit Custom Properties : สำหรับเพิ่ม Property Field ให้ Sheet Set เช่น ชื่อผู้ออกแบบ ชื่อผู้เขียนแบบ เป็นต้น ซึ่ง Property Field เหล่านี้สามารถกำหนดให้แสดงใน Title Block ได้ โดยใช้การแทรก Field ใน Text ของ Title Block

การเพิ่มและการลบไฟล์ในรายการ Sheet Set

  • การลบไฟล์จากรายการ Sheet Set  ใช้วิธีการ Click ขวา ที่ชื่อแบบนั้น แล้วเลือก Remove Sheet  แบบแผ่นนั้นจะถูกลบออกจากรายการ  ซึ่งไฟล์แบบจริงๆจะยังคงมีอยู่เหมือนเดิม

  • หากไฟล์ใน Folder ที่มีอยู่ในรายการ Sheet Set ถูกลบออกไป รายการนั้นจะแสดงเครื่องหมายคำถาม เราสามารถ Click ขวาที่รายการนั้น เพื่อ Remove Sheet ออกจากรายการ หรือเลือกProperties เพื่อไป Link กับ Layout ที่ถูกต้อง

  • การเพิ่มรายการแบบใน Sheet Set สามารถทำได้สองวิธีคือ
    • 1.วิธี Import จาก Drawing File : จะมีขั้นตอนคล้ายๆ กับตอนสร้าง Sheet Set ในตอนแรก
    • 2.วิธี สร้าง File ใหม่จาก Template File ที่เลือกไว้

การ Plot ผ่าน Sheetset

  • การ Plot ผ่าน Sheet Set สามารถทำได้สะดวกมาก แค่ทำการเลือกไฟล์ที่จะ Plot จากนั้น Click ขวา ไปที่ Publish จาปรากฎตัวเลือกการ Plot มากมาย แต่สำหรับSheet Set ที่มีการSet Template ไว้อย่างดีแล้ว ให้ไปที่ Publish using page setup override จะปรากฎรายการ Page Setup ของไฟล์ Template ที่เลือกไว้ในขั้นตอนที่แล้วเพื่อสั่ง plot ได้เลย

การรวมไฟล์ผ่าน Sheetset

  • เลือกไฟล์ที่จะรวม Click ขวา ไปที่ eTransmit

  • สามารถเข้าไปตั้งค่าการรวมไฟล์ ได้ที่ Transmittal setting > จะปรากกฎหน้าต่างให้เลือกสร้าง setup ใหม่ > จะปรากฎหน้าต่าง Transmittal Setup

  • ในหน่าต่าง Transmittal setup จะมีให้ตั้งค่าต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
  • เสร็จแล้วกลับมาที่หน้าต่าง Create transmittal > เลือกรูปแบบที่ต้องการ > กด ok เพื่อเริ่มรวมไฟล์
  • เมื่อกด ok จะปรากฎหน้าต่างให้เลือกตำแหน่งที่ save file อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะแสดงตำแหน่งเดียวกับที่ตั้งไว้ใน transmittal setup ( เปลี่ยนแปลงได้ถ้าต้องการ )


สรุป

     ลองใช้งานบ่อยๆ ให้เกิดความชำนาญ รับรองได้ว่าจะต้องติดใจในประโยชน์และความรวดเร็วของ Sheet Set  อย่างไรก็ตามที่เขียนมาทั้งหมดยังเป็นเพียงเนื้อหาเบื้องต้นเท่านั้น จะเห็นว่ายังมี Sheet View และ Model View ที่ความเข้าใจยังไปไม่ถึง หากมีโอกาสได้ศึกษาในระดับที่ลึกกว่านี้ ก็จะได้นำมาแบ่งปันกันต่อไปครับ






วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

AutoCAD - คำสั่งที่ไม่ค่อยได้ใช้งานใน AutoCAD

คำสั่งที่ไม่ค่อยได้ใช้งานใน AutoCAD

    ในบทความนี้จะเขียนเกี่ยวกับ คำสั่งมีประโยชน์ ที่ผู้เขียนแบบส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ใช้งาน

คำสั่ง : FLATTEN
การทำงาน : ใช้ทำให้วัตถุอยู่ในระนาบเดียวกัน
ตัวอย่างใช้งาน : ในกรณีการ Hatch ใน 2D แบบ Pick point ถ้าเส้นขอบไม่อยู่ในระนาบเดียวกันจะเกิดปัญหาคือ AutoCAD ไม่สามารถคำนวณ Boundary ได้ เราก็ใช้ FLATTEN ช่วยให้เส้นทั้งหมดอยู่ในระนาบเดียวกันเสียก่อน

คำสั่ง : FLATSHOT
การทำงาน : ใช้สร้างเส้น 2 มิติ จากมุมมองของวัตถุ 3 มิติ
ตัวอย่างใช้งาน : 

คำสั่ง : OVERKILL
การทำงาน : ลบวัตถุที่ทับซ้อนกัน
ตัวอย่างใช้งาน : กรณีใช้ AutoCAD ช่วยในการนับ Block เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มี Block ซ้อนทับกันอยู่ ให้ใช้คำสั่ง OVERKILL ก่อนที่จะทำการนับ

คำสั่ง : DIV
การทำงาน : แบ่งเส้นด้วยจำนวนเท่ากัน โดยจุดที่แบ่งอาจแสดงเป็น block หรือ point


คำสั่ง : MEASURE
การทำงาน : แบ่งเส้นด้วยระยะที่กำหนด โดยจุดที่แบ่งอาจแสดงเป็น block หรือ point


คำสั่ง : COPYM
การทำงาน : การคัดลอก โดยพ่วงคำสั่ง DIV หรือ MEASURE  ซึ่งได้เปรียบตรงที่ไม่ต้อ้งสร้าง reference line  ( กรณีใช้ MEASURE ให้ปิด Object snap ก่อนกำหนดระยะห่าง )


คำสั่ง : CHSPACE
การทำงาน : ย้ายวัตถุจาก Paperspace ไปอยู่ใน Modelspace ในตำแหน่งที่ตรงกัน
ตัวอย่างใช้งาน : กรณีเรารับแบบต่อมาจากผู้เขียนท่านอื่นซึ่งใช้เทคนิคการบอก Dimension ลงบน Paper space แทนที่จะบอกใน Model space  ให้ใช้คำสั่ง CHSPACE เพื่อดึง Dimension มาอยู่ใน Model space

คำสั่ง : ALIGN
การทำงาน : คำสั่งที่สามารถ เคลื่อนย้าย หมุน และย่อ-ขยาย scale ของวัตถุ ได้ในคราวเดียวกัน

คำสั่ง : REN
การทำงาน : ใช้แก้ชื่อ Block


เอาเท่าที่นึกออกตอนนี้ก่อน ไว้มีอะไรเพิ่มเติมค่อย Update กันอีกทีครับ

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

AutoCAD - การใช้งาน Scripts

AutoCAD Scripts

Scripts คือ ?

     การใช้งาน scripts คือการใช้งานคำสั่งต่างๆใน AutoCAD ในรูปแบบ Text File ซึ่งบรรจุชุดของคำสั่ง ที่ทำงานต่อเนื่องกัน 

สิ่งที่ควรรู้เพื่อใช้งาน Scripts

  1. แต่ละบรรทัดของ Text File จะต้องใส่คำสั่งที่ใช้และค่าพารามิเตอร์ต่างๆให้ถูกต้อง
  2. การเว้นบรรทัดจะเทียบเท่ากับการกด Enter ในการใช้งานปกติ
  3. ใส่ comment ได้โดยใช้เครื่องหมาย semicolon (;) นำหน้าบรรทัดนั้น
  4. คำสั่งส่วนใหญ่ที่ใช้ใน scripts จะขึ้นต้นด้วยเครื่องหมายขีดกลาง (-) หมายถึงการเรียกใช้คำสั่งโดยไม่เรียก dialog box เช่น ใช้ -INSERT แทน INSERT เป็นต้น
  5. ถ้ามีการอ้างอิงชื่อไฟล์ที่มีเว้นวรรคคั่น ต้องพิมพ์ชื่อไฟล์ในเครื่องหมายคำพูด เช่น ชื่อไฟล์ Alignment ML01.dwg ให้พิมพ์ "Alignment ML01" เป็นต้น
  6. ค่าพารามิเตอร์ PICKADD และ PICKAUTO ต้องตั้งค่าเป็น 1 และ 0 ตามลำดับ (ห้ามเปลี่ยน)

ประโยชน์ใช้งานของ Scripts

    Scripts มีประโยชน์มากสำหรับงานที่ต้องทำซ้ำจำนวนมาก ขึนอยู่กับตัวผู้ใช้เองว่าจะนำไปปรับใช้แบบไหน
 
    สำหรับตัวผู้เขียนเองก็ไม่ได้ใช้งาน Scripts ในขั้นสูงเท่าไรนัก  แต่จะนำมาช่วยในการ วาดเส้นหรือแทรก block เสียมากกว่า ซึ่งช่วยประหยัดเวลาไปได้มากทีเดียว ลองตามไปดูตัวอย่างกันครับ

ตัวอย่างการใช้งาน Scripts ในการแทรก Block 

     ตัวอย่างการใช้ script ช่วยในการ insert block จำนวนมากลงใน drawing  ในตัวอย่างนี้ ทำการ คำนวณพิกัดและมุมเอียงของ block ในโปรแกรม excel  จากนั้น ใช้ Script ในการแทรก Block โดย Block ที่แทรกจะเป็น Block Attribute
   
     1. คำนวณพิกัดและค่าต่างที่เกี่ยวข้องใน Excel

     2. รายละเอียดคำสั่งที่ใช้
  •       คำสั่ง ขึ้นต้นด้วย "multiple" หมายถึงทำซ้ำคำสั่งเดิม หลายครั้งจนจบ  ตามด้วย "-i " ชื่อคำสั่งสำหรับ insert block ตามด้วย "Btag" คือชื่อ Block ที่จะทำการแทรก  ( ต้องมี block ที่จะแทรกอยู่ในไฟล์ ก่อนเรียกใช้คำสั่ง )
  •      ค่าพารามิเตอร์ที่ต้องกำหนด ( เว้นวรรคหนึ่งเคาะ ระหว่างค่าต่างๆ )
    • พิกัด x,y,z คั่นระหว่างค่าด้วย ","
    • scale ของ block
    • มุมเอียงของ block เป็น องศา
    • ข้อความ ที่ใส่ใน Attribute
     3. คัดลอกชุดคำสั่ง จาก Excel วางลงใน command line ใน AutoCAD  โดยคัดลอกตั้งแต่ ชื่อคำสั่ง ลงมาจนถึง พารามิเตอร์ชุดสุดท้าย( ใน CAD ต้องตั้งค่าพารามิเตอร์ ATTDIA=0 ) 





     จะปรากฎ block ตามพารามิเตอร์ ที่คำนวณไว้


   
    

ตัวอย่างการใช้งาน Scripts ในการเขียนเส้น 

     ตัวอย่างการใช้ script ช่วยในการ เขียนเส้น จำนวนมากลงใน drawing โดยทำการ คำนวณพิกัดของเส้น ในโปรแกรม excel

     1. คำนวณพิกัด ใน Excel

     2. รายละเอีดคำสั่งที่ใช้
  •  คำสั่ง ขึ้นต้นด้วย "multiple" หมายถึงทำซ้ำคำสั่งเดิม หลายครั้งจนจบ  ตามด้วย "3dpoly " ชื่อคำสั่งสำหรับวาดเส้น poly line 3 มิติ  

  •  ค่าพารามิเตอร์ที่ต้องกำหนด
    • พิกัด x,y,z คั่นระหว่างค่าด้วย "," โดยหนึ่งบรรทัดคือ 1 จุดของเส้นนั้น เมื่อจบเส้นให้เว้น 1 บรรทัด แล้วเริ่มจุดพิกัดของเส้นต่อไป
     3. คัดลอกชุดคำสั่ง จาก Excel วางลงใน command line ใน AutoCAD  โดยคัดลอกตั้งแต่ ชื่อคำสั่ง ลงมาจนถึง พารามิเตอร์ชุดสุดท้าย


สรุป

     จากตัวอย่างแสดงถึงความสะดวกและรวดเร็วของการใช้งาน Scripts ได้เป็นอย่างดี เพียงต่อต้องไปศีกษาเพิ่มเติมว่า คำสั่งต่างๆ เมื่ออยู่ในรูปของ text file แล้วจะมีรูปแบบอย่างไร ซึ่งโดยส่วนมากลำดับการใส่ค่าต่างๆก็จะเหมือนกับที่ปรากฎใน command line ซึ่งคงเรียนรู้ได้ไม่ยาก  ส่วนการใช้งาน Scripts ในขั้นสูงกว่านี้ตัวผู้เขียนยังไม่มีความสามารถ  หากมีโอกาสได้เรียนรู้ก็จะนำมาเผยแพร่ให้ได้ความรู้กันต่อไป

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

AutoCAD - การใช้งาน Design Center & Tool Palettes


Design Center & Tool Palettes

     ในการเขียนแบบถ้าจะให้ทำงานได้เร็วควรมีการจัดการ content ต่างๆ อย่างเป็นระบบ เช่น พวก Block ประเภทต่างๆที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ  เมื่อทุกอย่างเป็นระบบระเบียบจะทำให้ดึงมาใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว ซี่ง AutoCAD ได้จัดเตรียมเครื่องมือเพื่อการนี้ไว้ให้แล้ว โดยจะมีเครื่องมืออยู่ 2 แบบ คือ Design Center และ Tool Palettes โดยทั้งสองแบบมีหลักการทำงานคล้ายๆกัน แต่ Tool Palettes จะใช้งานได้คล่องตัวกว่า หรืออีกนัยหนึ่ง Tool Palettes ก็คือฉบับย่อของ Design Center

     หลักการใช้งานเบื้องต้นของ Design Center และ Tool Palettes คือ เราต้องมีไฟล์ที่เก็บBlock หรือStyle ประเภทต่างๆไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ โดยในหนึ่งไฟล์จะมีจำนวนBlock เท่าใดก็ได้ จากนั้นเราจะใช้  Design Center และ Tool Palettes ช่วยอำนวยความสะดวกในการดึง content เหล่านั้นมาใช้ โดยไม่ต้องเข้าไปเปิดและคัดลอกจากไฟล์ต้นฉบับ

Design Center

เราสามารถเปิดDesign Center โดยคำสั่ง ADCENTER ทาง Command Line หรือ ไปที่ Tab Insert แล้ว
คลิ๊กเลือก Icon Design Center  จะปรากฎหน้าต่าง Design center ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1

  • ทางฝั่งซ้ายจะเป็นแถบนำทาง ที่เราจะค้นหาที่อยู่ของไฟล์ต้นฉบับ ซึ่งเราควรจะมีที่อยู่ที่แน่นอน
  • ฝั่งขวาจะเป็นหน้าต่างแสดงภาพตัวอย่างของ content ทีบรรจุอยู่ในไฟล์ หากเราสนในจ content อันไหน ก็คลิ๊กขวาที่อันนั้นแล้วเลือก Insert ได้เลย
รูปที่ 2
  • จากรูปที่ 2 ตัวเลือกคำสั่งต่างๆ ทำงานดังนี้
    • Insert Block ทำการแทรก Block
    • Insert and Redefine ทำการแทรก Block และแทนที่ Block เดิม 
    • Redefine ซึ่งใช้ในการแทนที่ Block 
    • Block Editor ใช้สำหรับเข้าไปแก้ไข Block
    • Copy ใช้สำหรับ คัดลอก Block
    • Create Tool Palette นำ content ที่เลือกไปใส่ใน Tool Palette 
ส่วน content ที่ไม่ใช่ Block เช่น พวก Text Style ต่างๆ เราสามารถนำเข้ามาในใช้ในไฟล์ปัจจุบัน โดยเลือก Add content นั้นได้เลย ดังแสดงตามรูปที่ 3

รูปที่ 3

Tool Palette

     เราสามารถแสดง Tool Palette โดย ไปที่ Tab View > คลิ๊กเลือก Icon Tool Palette จะปรากฎหน้าต่าง Tool Palette ตามรูปที่ 4
รูปที่ 4

     เมื่อคลิ๊กขวาที่แถบ Tool Palette จะปรากฎแถบคำสั่งไว้สำหรับจัดการเกี่ยวกับ Tool Palette ดังแสดงตามรูปที่ 5


รูปที่ 5

    จากรูปที่ 5 เครื่องมือชุดแรกจะเกี่ยวกับเรื่องการจัดวางตำแหน่ง และลูกเล่นของ Tool Palette  ซึ่งประกอบไปด้วย
  • Move
  • Size
  • Close - ปิดหน้าต่าง Tool Palette
  • Allow Docking - ให้ Tool Palette แทรกตัวที่ขอบด้านใดด้านหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้  ถ้าไม่เลือก option นี้ หน้าจอ Tool Palette จะทับอยู่บนพื้นที่เขียนแบบ
  • Anchor Left - ใช้ฝัง Tool Palette ไว้ที่ขอบซ้ายของจอภาพ ( ใช้ร่วมกับ Allow Docking )
  • Anchor Right - ใช้ฝัง Tool Palette ไว้ที่ขอบขวาของจอภาพ ( ใช้ร่วมกับ Allow Docking )
  • Auto Hide - ใช้ซ่อน Tool Palette ให้เหลือเพียงแถบเท่านั้น และจะแสดง Tool Palette เมื่อลากเม้าส์มาวางที่แถบ
  • Transparency - ใช้ปรับค่าความโปร่งแสงของ Tool Palette
     ส่วนชุดเครื่องมือต่อมา จะเป็นเกี่ยวกับการสร้างและการจัดการ content ใน Tool Palette ซึ่งประกอบไปด้วย
  • New Palette - ใช้สร้าง Palette ใหม่
  • Customize Palette - ใช้จัดการ content ระหว่าง Palette
  • Customize Command - ใช้ดึงคำสั่งที่ต้องการ ลากไปใส่ใน Palette
     ส่วนสุดท้ายของหน้าต่าง จะแสดง Palettes ทั้งหมดที่มีอยู่ โดยเราสามารถเลือกแสดงเฉพาะ Palette อันไดอันหนึ่ง หรือเลือกแสดงทั้งหมดเมื่อคลิ๊ก All Palettes

การนำ Content ใส่ใน Tool Palettes

เราสามารถนำ content ต่างๆ มาใส่ Tool Palette ได้ในสองทางคือ


     1. ใช้ Design Center  : ตามที่แสดงเนื้อหาไว้ก่อนหน้านี้ เราสามารถสร้าง Tool Palette จาก Design Center 

     2. ใช้วิธิ copy paste ลงใน tool palette โดยตรง : เมื่อเรา copy content จากไฟล์ไหนมาลงใน Palette แล้ว ไฟล์นั้นจะเป็นไฟล์ต้นฉบับของ content นั้น ถ้าเราเลือกแก้ไข Block จาก Tool Palette โปรแกรมจะเรียกเปิดไฟล์ต้นฉบับ ซึ่งจะเกิดปัญหาได้ในกรณีมีการเคลื่อนย้ายไฟล์ต้นฉบับ ดังนั้นไฟล์ต้นฉบับควรมีที่อยู่ที่แน่นอน


สรุปหลักการใช้งาน

     โดยหลักการแล้วเราควรใช้ Design Center เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหา content ต่างๆ  และใช้ Tool Palette ในการเก็บ content นั้น เพื่อสะดวกในการใช้งานในภายหลัง

เทคนิคการใช้งาน Tool Palette กับ Style

  การเรียกใช้ style ผ่าน Design Center ถึงจะทำได้แต่ก็ไม่ค่อยสะดวกนัก วิธีที่สะดวกกว่าคือ สร้าง style ต่างๆไว้ให้ครบถ้วน วาดวัตถุตัวอย่างโดยใช้ style เหล่านั้น จากน้ันทำให้วัตถุเหล่านั้นเป็น Block แล้วจึงนำ Block ใส่ใน Tool Palette จะทำให้เรียก style ทั้งหมดได้ในคราวเดียว ตัวอย่างการสร้าง Block ดังกล่าวแสดงในรูปที่ 6